ภาษาไทย

ประวัติความเป็นมา
ตานก๋วยสลาก ตานสลาก กิ๋นสลาก กิ๋นข้าวสลาก ล้วนแต่เป็นภาษาถิ่นของชาวล้านนาที่มักมีการเรียกขาน แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่ความหมายนั้นเหมือนกันโดยหลักการ อาจจะแตกต่างกันไปบ้างในเรื่องรายละเอียด ถ้าเป็นภาไทยเรียกว่า สลากภัต ของชาวล้านนาคือการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ หรือ สังฆทาน มีประวัติความเป็นมาเล่ากันว่า ครั้งพุทธกาลพระบรมโพธิสัตว์พร้อมพระสาวกเดินทางจาริกแสวงบุญ เผยแพร่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ตลอดระยะเวลาได้มีศรัทธาญาติโยมนำอาหารคาวหวานมาถวาย ส่วนคนมีฐานะยากจน แต่มีจิตศรัทธาใคร่ทำบุญก็นำอาหารเท่าที่หามาได้มาทำบุญ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในหมู่สงฆ์ที่รับถวาย พระพุทธองค์พิจารณาเห็นดังนั้นจึงบัญญัติวิธีการให้พระสงฆ์จับสลากรับถวายอาหารจากญาติโยม ซึ่งเป็นวิธีการที่ยุติธรรม และความพอใจให้แก่ทุกฝ่าย และได้ปฏิบัติสืบทอดกันมา
            ประเพณีตานก๋วยสลาก ปฎิบัติในช่วงที่ชาวบ้านได้ทำนากันเสร็จแล้ว พระสงฆ์จำพรรษาอยู่วัดไม่ได้ไปไหนและบวกกับในช่วงเวลาที่มีผลไม้สุก เช่น ลำไย ส้มโอ เมื่อต้นข้าวในนาเริ่มเขียวขจี ชาวนาที่มีฐานะไม่ค่อยดีการดำรงชีวิต คนจนเป็นสังฆทานได้กุศลเอง
            ข้อคิด

            ความไม่แบ่งชนชั้นฐานะ,เท่าเทียมกัน เสมอภาคไม่ว่าใครก็สามารถเข้าวัดได้ ไม่ว่าคนรวยหรือคนจน ราชวงศ์หรือคนธรรมดา มีพระสงฆ์ ศูนย์รวมชองผู้คน และได้รู้ได้เข้าใจ ในประวัติความเป็นมาของตาลก๋วยสลากความแตกต่างของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งจะแตกต่างกันไปบ้าง การจับสลากรับสังฆทานเหมือนกับเป็นการบ่งบอกว่าจะไม่มีการแบ่งชนชั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น